วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การบริหารเงินสำคัญอย่างไร? แล้วทำไมที่โรงเรียนไม่เคยสอน?


เราต้องบริหารเงิน เพราะ
                1   เงินมีจำกัด หรือมีไม่พอต่อความอยากของเรานั้นแหละ   เงินในกระเป๋าของท่านล้วงออกมาก็จะพบว่าเงินมันน้อยเมื่อเทียบกับราคาของที่ตัวเองอยากได้  หลายท่านอาจจะมีบัตรเครดิต  แต่ก็ยังถูกจำกัดวงเงินซะอีก บางคนขอบัตรเค้ายังไม่ให้เลย
               2    เรามีต้องการใช้เงินมากมายยิ่งนัก  เรามีความต้องการใช้เงินตลอดเวลา รู้สึกว่าเงินสามารถแก้ปัญหาให้เราได้ทุกอย่าง  ไม่เฉพาะกับธุรกิจ แม้กระทั่งส่วนตัวของท่านก็มีการใช้เงินตลอดเวลา เช่น สอบตกแล้วซื้อเหล้าแก้เซ็ง  แฟนทิ้งเลยเอาเงินไปทิ้งในผับ  เคยหรือเปล่าหล่ะ  ทั้งที่ต้นเหตุไม่ได้เป็นเพราะเงินเลย (เหมือน จน เครียส กินเหล้า นั่นแหละ)
                3    เงินสามารถเรียกเพื่อนมันเองได้โดยการลงทุนแล้วแต่ละวิธีเนี่ยมันเรียก เพื่อนมาได้ไม่เท่ากัน เราต้องเลือกว่าจะให้มันเรียกแบบไหนด้วยนะซี่   การลงทุนมีหลายประเภท  และแต่ละประเภทมีระยะเวลาการให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน  การลงทุนโดยการซื้อของมาขายให้ผลตอบแทนเร็ว   ความเสี่ยงอาจสูง  (หรือเรียกว่าขาดทุนง่ายนะแหละ)   ขณะที่การลงทุนปลูกสร้างอาคารให้ผลตอบแทนช้า ตามความเสี่ยงที่มีน้อย  นี่ๆ  การพนันไม่เรียกการลงทุนนะจ๊ะเพราะเราควบคุมความเสี่ยงไม่ได้และผิดกฏหมาย แน่นอน คุ๊กๆ
                4    เงินมีต้นทุน  เรามีเงินอยู่ในกระเป๋า  100  บาท  ไม่ได้หมายความว่า  100  บาท  ใช้ทำอะไรก็ได้  แต่ในแง่ของคนรวย ต้องคิดว่าต้องใช้เงิน   100  บาทอย่างฉลาดที่สุดโดยคำนึงถึงต้นทุนของเงิน   ซึ่งต้นทุนของเงินก็มีอยู่ 2  ประภท  คือ
                                4.1  ต้นทุนการเสียโอกาสของการใช้เงินที่เรามีอยู่  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสิ่งเหล่านี้สำคัญ  กล่าวคือ เงินก้อนหนึ่ง  ถ้าเราเลือกใช้ทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เราจะไม่ได้ทำอย่างอื่นๆเพราะเงินนั้นถูกใช้หมดไปแล้ว เรียกว่าค่าเสียโอกาสนั่นเอง     สมมุติว่าลงทุนซื้อทองไว้ขาย เราก็จะไม่มีเงินเหลือพอดาวคอนโดเพื่อรอขายนั่นเอง ถือว่ามีการเสียโอกาสเกิดขึ้น   ท่านคนรวยจะต้องชั่งน้ำหนักการใช้จ่ายเงินในแต่ละทางเลือกให้   ชัดเจน  ในกรณีที่เป็นเงินของเราเอง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของเราเอง
                                4.2   ต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้    ซึ่งต้องใช้จ่ายให้แก่สถาบันการเงินของเราเองกรณีการกู้มาต่อทุน ต้องคิดระยะเวลาที่ลงทุนด้วยเพราะเวลาคือดอกเบี้ยที่ต้องเสียนะจ๊ะ  หรือจะชักดาบหล่ะ
               5     ป้องกันปัญหาเงินขาดแคลน ที่เกิดมาจาก
                               5.1  ได้เงินหรือกำไร เข้ามาไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
                               5.2  ต้นทุนการลงทุน สูงขึ้น เช่น ต้นทุนประกอบการ  ต้นทุนสินค้า  ควบคุมไม่ได้  ต้นทุนสูง  ขายไปแล้วมีแต่ขาดทุน
                               5.3   มีเหตูไม่คาดฝันที่ต้องเสียเงิน  มีรายจ่ายพิเศษ เช่น เมียเก่าหายสาบสูญ ต้องหาเงินไปแต่เมียใหม่ที่เด็กกว่าอย่างด่วน เป็นต้น  อะๆ รู้นะคิดอารายอยู่ คริๆ


เงิน เงิน และเงิน แล้วทำไมโรงเรียนไม่สอนเรื่องเงินหล่ะ เอาไว้โอกาสต่อไปนะ อิๆ

อย่าลืมติดตามเรื่องเงินๆได้ที่ http://easytomillionairethai.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น