วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ชำแหละการออมเงินของคนเมืองกรุง



จากบทความ “คนกรุงชอบออม แต่มีเงินออมไม่ถึงหมื่นบาทต่อปี” และความเห็นแนวเงินเงินและเงิน ของผมสรุปได้ว่า    เมื่อวันที่ 31 ต.ค. "ศรีปทุมโพล เก็บข้อมูลจากตัวอย่าง 3,000 คน  แสดงให้เห็นว่า
ออมเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อปี                        ร้อยละ 44.60
ออมเงิน10,001-50,000 บาทต่อปี                     ร้อยละ 34.00 
ออมเงิน50,001-100,000 บาท                            ร้อยละ 13.97
ผมว่าคนส่วนใหญ่เก็บเงินน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อปี โดยเฉพาะเมื่อเทียบรายได้ในกรุงเทพ

ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอน หรือ ออมเงินตามที่เหลือ              ร้อยละ 53.60
ไม่ได้ออมเงินเลย                                                                   ร้อยละ 15.27
วางแผนออมเงินประมาณ ร้อยละ 1-5                               ร้อยละ 14.37
และข้อนี้เป็นข้อที่บอกสาเหตุได้ว่าทำไมคนจนเราถึงมีเงินออมน้อย  เพราะใช้วิธีการ ”ใช้ก่อนเก็บ” ซึ่งผิดวิสัยการเป็นคนรวยที่จะต้อง “เก็บก่อนใช้”  จะได้มากได้น้อยไม่เป็นไร แต่จะให้ดีต้อง ได้ตามกฎทองบาบิโลน คือ 10% ของรายได้ ขอเน้นแบบขีดเส้นใต้ว่า ถ้าเราคิดใช้ก่อนเงินก่อนเก็บ  เงินเท่าไหรก็ไม่พอกับความอยากใช้ของเราหรอกนะครับ  แต่ถ้าเราโดนบีบให้ใช้เท่าที่มีแล้วยังไงเราก็สามารถอดทนแบบเดือนชนเดือนได้ ซึ่งเราก็ถนัดอยู่แล้ว ฮ่าๆๆๆ    ถ้าเราอยู่แบบเดือนชนเดือนอดนิดหน่อยแล้วมีเงินเก็บ มันต้องดีกว่าแบบสบายวันนี้แต่ลำลากวันหน้านะครับ    จำไว้เลยนะว่า   เก็บเงินก่อนใช้

ออมเงินในแบบบัญชีเงินฝากกับธนาคาร (ออมทรัพย์)    ร้อยละ 51.37
ออมเงินแบบเงินสด                                                              ร้อยละ 12.97
ออมเงินกับบัญชีเงินฝากกับธนาคาร (ฝากประจำ)          ร้อยละ 12.80
นั่นไงหล่ะครับ เศรษฐีแห่งบาบิโลน บอกว่าออมเงินแล้วนำไปลงทุนต่อ เหมือนที่คนจีนบอกว่าให้ลงทุ่นก่อนค่อยซื้อบ้านนะแหละ  แล้วดูคนจนทั่วไปเค้าวางแผนการเงินว่าไง  เก็บแล้วฝากธนาคาร ดอกเบี้ยน้อยนิด แค่หักเงินเฟ้อก็หมดค่าแล้ว เงินเท่าเดิมแต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วซื้อของได้จำนวนได้น้อยลง ดูง่ายๆจากราคาทอง เลยครับ แพงขึ้นตลอด  ดังนั้นเราความมาหาความรู้ในการลงทุนมากๆดีกว่าน่ะ

ประชาชนส่วนใหญ่ให้เห็นผลว่าเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน คิดเป็นร้อยละ 38.73
ข้อนี่ยิ่งเจ็บปวด  เก็บเงินมาแล้วก็ใช้เหมือนเดิมไม่ได้คิดว่าจะเอาไปต่อยอดเพื่อความร่ำรวยเลย ที่บอกอย่างนี้เพราะว่าคนเราชอบคิดว่าปัญหาที่เจอนั้นหนักหนาต้องใช้เงินฉุกเฉินด่วนตลอด  โดยไม่ได้คิดเลยว่าอีกสอง สาม อาทิตย์ ข้างหน้าอาจเจอสิ่งสำคัญกว่าที่ต้องใช้เงินช่วย นี่คือข้อเสียของเงินฉุกเฉิน

           นายวิชิต อู่อ้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะออมเงินเฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งยังเป็นการเก็บออมที่น้อยอยู่มาก โดยส่วนมากจะเป็นการเก็บออมที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างแน่นอน จะเป็นการเก็บออมตามเงินที่เหลือใช้ แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 53.60 ไม่มีเกณฑ์ในการออมเงินอย่างจริงจัง และยังมีการเก็บออมที่น้อยอยู่มาก เฉลี่ยต่อเดือนไม่ถึง 1,000 บาท และการเก็บออมที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกใช้คือการฝากเงินออมทรัพย์กับธนาคาร ด้วยเหตุผลว่าสะดวกสบายในการออมและความมั่นใจ ซึ่งเหตุผลในการออมทรัพย์กับธนาคาร คือ เพื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินเป็นส่วนใหญ่
และนี่เป็นเหตุผลให้คนส่วนใหญ่ไม่มีเงินล้านหล่ะครับ  ง่ายๆๆแค่นี้เอง  ไม่ต้องอธิบายมาก ฮ่าๆๆๆๆๆๆ  มันต้องโดนใจใครบ้างหล่ะน่า

ปล. คุณรู้หรือไม่ว่า   วันออมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี   ฮ่าๆๆๆ ผมก็เพิ่งรู้ เงินเงินและเงิน




บทความ..........คนกรุงชอบออม แต่มีเงินออมไม่ถึงหมื่นบาทต่อปี (ไทยรัฐ)

           "ศรีปทุมโพล" เผย คนกรุงกว่าร้อยละ 44.60 เก็บเงินออมปีละไม่เกินหมื่น โดยใช้วิธีฝากแบงก์มากกว่าครึ่ง ส่วนเหตุผลในการออมปชช.ส่วนใหญ่เห็นว่าต้องการเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
           เมื่อวันที่ 31 ต.ค. "ศรีปทุมโพล" โดยสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการเก็บออมของประชาชน เนื่องด้วยวันออมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี จากกลุ่มตัวอย่าง 3,000 คน พบว่าเมื่อถามถึงการออมเงินนั้นประชาชนส่วนใหญ่จะเก็บออมเงินเฉลี่ยปีละไม่ เกิน 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.60 รองลงมา 10,001-50,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 34.00  และอันดับสุดท้าย 50,001-100,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.97
           ในส่วนของการจัดส่วนเงินออมต่อรายได้ในแต่ละเดือนนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอน ออมเงินตามที่เหลือ คิดเป็นร้อยละ 53.60 รองลงมาไม่ได้ออมเงินเลย คิดเป็นร้อยละ 15.27 และอันดับสุดท้าย ออมประมาณ ร้อยละ 1-5 คิดเป็นร้อยละ 14.37
           สำหรับรูปแบบวิธีการออม เงินของประชาชนส่วนใหญ่นั้นจะใช้วิธีการออมเงินแบบบัญชีเงินฝากกับธนาคาร (ออมทรัพย์) คิดเป็นร้อยละ 51.37 รองลงมาออมเงินแบบเงินสด คิดเป็นร้อยละ 12.97 และอันดับสุดท้าย ออมเงินกับบัญชีเงินฝากกับธนาคาร (ฝากประจำ) คิดเป็นร้อยละ 12.80
           โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการออมของประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเพราะมี ความมั่นใจ คิดเป็นร้อยละ 27.03 รองลงมา เพราะความสะดวกสบายในการออม คิดเป็นร้อยละ 24.77 และอันดับสุดท้าย เพราะอัตราค่าตอบแทน คิดเป็นร้อยละซึ่งการรับทราบข้อมูลในการเก็บออมเงินนั้น ส่วนใหญ่รับทราบจากสื่อโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 31.47 รองลงมาจากพนักงานธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 16.30 และอันดับสุดท้าย การแนะนำแบบปากต่อปาก คิดเป็นร้อยละ 14.47 20.43
           ส่วนเหตุผลหลักในการออมเงินนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ให้เห็นผลว่าเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน คิดเป็นร้อยละ 38.73 รองลงมา เพื่อวางแผนอนาคต เช่น การศึกษาของบุตร, การลงทุน, แผนการศึกษาของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 21.70 และอันดับสุดท้าย เพื่อใช้ในยามเจ็บป่วย คิดเป็นร้อยละ 14.03
           นายวิชิต อู่อ้น ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะออมเงินเฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งยังเป็นการเก็บออมที่น้อยอยู่มาก โดยส่วนมากจะเป็นการเก็บออมที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างแน่นอน จะเป็นการเก็บออมตามเงินที่เหลือใช้ แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ กว่าร้อยละ 53.60 ไม่มีเกณฑ์ในการออมเงินอย่างจริงจัง และยังมีการเก็บออมที่น้อยอยู่มาก เฉลี่ยต่อเดือนไม่ถึง 1,000 บาท และการเก็บออมที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกใช้คือการฝากเงินออมทรัพย์กับธนาคาร ด้วยเหตุผลว่าสะดวกสบายในการออมและความมั่นใจ ซึ่งเหตุผลในการออมทรัพย์กับธนาคาร คือ เพื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินเป็นส่วนใหญ่
           รองลงมาประชาชนจะเก็บออมโดย เก็บเงินสดไว้กับตัว โดยให้เหตุผลว่าสะดวกสบายในการเก็บออม และ เพื่อความมั่นใจ เหตุผลในการออมเป็นเงินสดไว้กับตัวเพื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน รองลงมาเป็นการออมเงินฝากประจำกับธนาคารด้วยเหตุผลว่าเพราะความมั่นใจและ อัตราผลตอบแทน เป็นหลัก ซึ่งในกลุ่มคนที่ฝากประจำมีเหตุผลในการออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน และเพื่อวางแผนอนาคต เช่น เพื่อการศึกษาของบุตร เพื่อการลงทุน และเพื่อแผนในการศึกษาต่อของตนเอง จะเห็นได้ว่าการออมในแต่ละแบบของประชาชนแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการออม และการออมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือการออมทรัพย์กับธนาคาร เพราะว่ามั่นใจในการออมแบบนี้ และเพื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังถือว่าประชาชนยังมีนิสัยในการการเก็บออมเงิน

http://hilight.kapook.com/view/43060 ข้อมูลจากไทยรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น