วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

ชายผู้ร่ำรวยที่สุดของ บาบิโลน (The Richest Man in Babylon) ภาคจบ



  ในด้านประเด็นเกี่ยวกับกฎสำคัญที่มักเรียกกันว่า กฎทอง” (golden rules) นั้น ผู้เขียนนำสิ่งที่เขียนมารวมกัน แล้วแยกพิจารณาเป็น 5 ข้อด้วยกันคือ
กฎทอง” (golden rules)
 1)ออม เงินหนึ่งในสิบของรายได้
 2)ใช้เงินทำงานให้ด้วยการลงทุนอย่างชาญฉลาด
3)ลงทุนตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
4)ไม่ลงทุนในสิ่งที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคย
และ 5)ไม่ลงทุนในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และไม่พยายามหาวิธีที่จะได้เงินอย่างรวดเร็วเพราะจะมีโอกาสสูญเงินอย่างรวด เร็วเช่นกัน

ประเด็นสุดท้ายได้แก่การวางแผนเพื่อความสำเร็จ ประเด็นนี้มีตัวละครชื่อดาบาเซอร์ คนขายอูฐ ซึ่งเล่าเรื่องอันน่าขมขื่นของตัวเอง ให้ลูกหนี้ฟัง เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อครั้งยังเยาว์ ดาบาเซอร์ก็ประพฤติตัวเช่นลูกหนี้ในขณะนั้น นั่นคือ ใช้จ่ายเงินเกินตัวจนเป็นหนี้ ภรรยาจึงหนีกลับไปอยู่กับพ่อแม่ เขาต้องหนีเจ้าหนี้ออกจากเมืองไปเป็นโจร เมื่อเขาถูกจับได้ก็ถูกขายไปเป็นทาสในประเทศซีเรีย ด้วยความโชคดีที่เขามีความสามารถในการดูแลและใช้งานอูฐ ภรรยาของเจ้านายจึงยกหน้าที่คนขี่อูฐประจำตัวให้เขา นางได้สอนบท เรียนอันมีค่าแก่เขาคือ ไม่มีใครได้รับการยอมรับนับถือหรือแม้แต่นับถือตัวเองได้หากไม่สามารถชำระ หนี้ การใช้หนี้เป็นการพิสูจน์ว่า เราเป็นคนที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่พึ่งของครอบครัวรวมทั้งเป็นลูกที่พ่อแม่ภาคภูมิใจ นางจึงได้หยิบยื่นโอกาสที่สำคัญที่สุดในชีวิตให้แก่เขา โดยเปิดโอกาสให้เขาหลุดพ้นจากความเป็นทาส เขาจึงกลับมาที่เมืองบาบิโลน และเริ่มวางแผนการเงินและปฏิบัติตามความตั้งใจของตัวเองเพื่อให้พ้นจากความเป็นหนี้เขาเริ่มต้นด้วยการทำตามกฎการจ่ายให้ตัวเองก่อนโดยเริ่มเก็บเงินหนึ่งใน สิบของรายได้เพื่อการออม ใช้เงินเพียงเจ็ดในสิบของรายได้เพื่อความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าแต่ละเดือนเขาจะมีเงินมากหรือน้อยก็ตาม และสุดท้ายเขาใช้เงินสองในสิบชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย เขาใช้ทั้งความอดทนและวินัยในตัวเอง การวางแผนอย่างดีและการดำเนินตามแผนอย่างเข้มงวดทำให้ตัวเองพ้นจากความเป็น หนี้ภายในเวลาไม่กี่ปี และยังสามารถใช้กฎนี้สร้างความร่ำรวยต่อมาจนมีเงินมากมาย

ข้อสังเกต หนังสือเล่มนี้อ่านง่ายและมีข้อคิดที่ไม่น่าจะยากสำหรับการนำไปปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่า มันเป็นต้นตำรับของหนังสือจำพวกแนะนำ การสร้างความร่ำรวย ซึ่งวางขายอยู่ในตลาดอย่างดาษดื่น อยู่ในขณะนี้ ผู้ได้อ่านหนังสือเรื่อง Rich Dad, Poor Dad ของ Robert T. Kiyosaki และ Sharon L. Lechter ซึ่งขายดีสุดๆ มาเป็นเวลานานและก่อให้เกิดหนังสือแนวสร้างความร่ำรวยอีกหลายชุดตามมา อาจจำได้ว่า ผู้เขียนยกย่องแนวคิดใน The Richest Man in Babylon มาก โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายเงินให้แก่ตัวเองก่อนการใช้จ่ายอย่างอื่น หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะกับทุกคนไม่เฉพาะแต่กับนักวางแผนทางการเงินเท่านั้น
คงเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์แล้วว่า เหนือสิ่งอื่นใดการอ่านคู่มือสร้างความร่ำรวยอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ใครร่ำรวยได้ มีแต่การลงมือปฏิบัติเท่านั้น หนทางสู่ ความสำเร็จต้องเริ่มต้นจากก้าวแรก แล้วเสริมแต่งด้วยความอดทนและความมีวินัย ไม่ใช่ด้วยการเดินทางลัด ทุกคนมีโอกาสที่จะร่ำรวยได้ทัดเทียมกัน นอกจากผลดีจะตกกับตัวบุคคลแล้วสังคมโดยรวมก็จะมีเงินออมและร่ำรวยมากขึ้น ด้วย ส่วนความร่ำรวยจะนำไปสู่ความสุขหรือไม่ เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันไม่มีวันสิ้นสุด    แต่อย่างไรเงินก็เป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของบุคคลธรรมดาอย่างเราที่ต้องใช้เงินอยู่   ฮ่าๆๆๆๆๆ

 จบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ    เวอร์ชั่นแรก เงิน เงิน และเงิน

ชายผู้ร่ำรวยที่สุดของ บาบิโลน (The Richest Man in Babylon) ภาค6


 ทางลงทุนต่อไปที่ควรจะได้รับการพิจารณา ได้แก่ การปล่อยเงินกู้

 
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับหลักในการให้กู้ยืมเงิน ตัวละครเป็นคนทำหลาวซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลจากกษัตริย์เป็นเงินถึง 50 เหรียญทองแล้วไปขอปรึกษาจากนักค้าเงินว่าเขาควรจะทำอย่างไรกับเงินที่ได้มา และเขาควรจะให้สามีของน้องสาวยืมเงินหรือไม่ นักค้าเงินกล่าวว่า เงินนั้นนอกจากจะเปลี่ยนฐานะของผู้รับแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งความรู้สึกถึงการมีอำนาจและความสามารถที่จะทำอะไรก็ได้อีก ด้วย ในขณะเดียวกันมันยังอาจนำความทุกข์จากความรู้สึกกลัวการสูญเสียและนำความ ยุ่งยากมาให้
นักค้าเงินได้เล่านิทานเรื่องหนึ่งให้คนทำหลาวฟังว่า วันหนึ่งขณะที่วัวกำลังรู้สึกอ่อนเพลียและเบื่อหน่ายกับการทำงาน มันจึงรำพึงรำพันให้ลาฟัง ลาจึงแนะนำวัวว่าในวันรุ่งขึ้นหากเจ้านายมาเรียกให้วัวไปทำงาน ให้วัวแกล้งทำเป็นป่วยเสีย ผลก็คือเจ้านายนำลาไปใช้งานแทนวัว ตกเย็นลาเหนื่อยมากจึงกลับมาเล่าให้วัวฟังว่า มันได้ยินเจ้านายบ่นว่า หากพรุ่งนี้วัวยังแกล้งป่วยอีกเจ้านายจะส่งวัวไปโรงฆ่าสัตว์ นักค้าเงินสรุปจากนิทานเรื่องนี้ว่า จงให้ความช่วยเหลือคนอื่นให้มากที่สุด แต่อย่าช่วยจนเขาต้องกลายมาเป็นภาระของตัวเอง
หลังจากนั้นคนทำหลาวสอบถามถึงหลักในการพิจารณาการปล่อยกู้ของนักค้าเงิน นักค้าเงินกล่าวว่า เขาแบ่งคนที่มาขอกู้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1)คนที่ต้องมีหลักประกันเท่านั้น เขาจึงจะให้กู้ และหลักประกันต้องมากพอหรือมากกว่าเงินที่ขอกู้ เพราะเขาเห็นว่าคนกลุ่มนี้อาจนำเงินไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องทำให้มีโอกาสสูญ เสียเงินมากกว่าที่จะได้เงินคืน
2)คนทำงานที่เขาคิดว่ามีความสามารถมากพอที่จะจ่ายเงินคืน คนเหล่านี้มักนำเงินที่กู้ไปลงทุนที่เขาพิจารณาแล้วว่า มีโอกาสทำกำไร
และ 3)คนประเภทที่ต้องมีคนที่ไว้ใจได้ค้ำประกันการกู้หรือเป็นนายประกันให้ กลุ่มนี้ไม่ต่างจากกลุ่มแรกมากนัก ซ้ำร้ายไม่มีแม้แต่สินทรัพย์ที่จะค้ำประกันจึงต้องมีคนที่เขาไว้ใจได้ค้ำ ประกันเขาจึงจะให้กู้ 


จากนั้นอักราจึงบอกกฎข้อสำคัญยิ่งนั่นคือ เราต้องพยายามเพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่เสมอ เพื่อที่เราจะได้เป็นคนที่ฉลาด และมีความสามารถมากกว่าผู้อื่น เมื่อเราเป็นคนแถวหน้าสุดในสายอาชีพของเราแล้ว เราจะสามารถหาผลประโยชน์ได้มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของคนทั่วไปเสมอ 
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อรับความโชคดี อักราไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูงในหอแห่งการเรียนรู้เพื่อถกกันว่า ควรจะทำอย่างไรเมื่อโชคดีมาถึงตัว อัก รา กล่าวอย่างแข็งขันว่า เขาไม่เคยเห็นใครร่ำรวยจากการเล่นการพนัน เขาเชื่อว่าเทพเจ้าแห่งความโชคดีจะไม่อยู่ในแหล่งการพนันอย่างแน่นอน แต่จะให้ความช่วยเหลือกับคนที่มีความจำเป็นจริงๆ หรือให้รางวัลเฉพาะกับคนที่สมควรได้รับ เช่น ชาวนาหรือพ่อค้าซึ่งสมควรจะได้รับกำไรจากความพยายามในการทำงาน 

หลังจากนั้นอักราจึงเปิดโอกาสให้ผู้มาร่วมชุมนุมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ของตัวเอง ชายคนหนึ่งซึ่งมีอาชีพขายสัตว์เล่าว่า ครั้งหนึ่งหลังจากที่เขาเดินทางออกจากเมืองไปนานกว่าสิบวัน เพื่อหาซื้อแกะ ในวันที่เขาจะกลับเข้าเมืองประตูเมืองปิด เขาจึงกลับเข้าเมืองไม่ได้ทำให้เขาพบพ่อค้าขายแกะอีกคนหนึ่ง ซึ่งรีบร้อนจะขายฝูงแกะทั้ง 900 ตัวให้ในราคาถูก เพราะต้องการนำเงินไปรักษาภรรยาที่เจ็บป่วย แต่เขารั้งรอเพราะขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน ซึ่งมืดเกินกว่าจะนับจำนวนแกะได้ เมื่อใกล้รุ่งมีพ่อค้าอื่นเดินทางออกมาจากเมือง จึงได้ต่อรองซื้อฝูงแกะนั้นไปในราคาที่แพงกว่าที่เขาควรจะได้เสียอีก และยังสามารถนำไปขายต่อจนทำกำไรได้อย่างงาม

ก่อนจากกันในวันนั้น อักราสรุปว่า วิธีการเริ่มต้นสร้างความร่ำรวยนั้นเหมือนกันทุกคน โดยจะต้องเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อนเสมอ จากการเป็นคนขายแรงงานซึ่งมีรายได้เป็นค่าแรง แล้วนำเงินที่เก็บหอมรอมริบมาลงทุนจนกระทั่งมีรายได้ จากดอกเบี้ยจากเงินสะสม
ส่วนการดึงดูดโชคเข้าหาตัวเองหมายถึงการรู้จักฉกฉวยโอกาส เพราะคนโชคดี คือคนที่ลงมือกระทำเท่านั้น โอกาสไม่เคยรอใคร ผู้อยากร่ำรวยต้องไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ชายผู้ร่ำรวยที่สุดของ บาบิโลน (The Richest Man in Babylon) ภาค5



ประเด็นเกี่ยวกับวิธีแก้ความยากจน มาจากตอนที่มหาเศรษฐีอักราถูกกษัตริย์แห่งบาบิโลน เรียกให้ไปสอนประชาชนส่วนหนึ่งของพระองค์ ในสถานที่ซึ่งมีชื่อว่า หอแห่งการเรียนรู้ถึงวิธีสร้างความร่ำรวย เพื่อให้คนเหล่านนั้นสร้างความร่ำรวยด้วยตัวเองแล้วนำความรู้ที่ได้รับไปสอน คนอื่นต่อ
หลังจากนั้นอักราจึงแนะนำผู้มาเรียนว่า การลงทุนในที่อยู่อาศัยเป็นการลงทุนที่ได้ผลกำไรแน่นอน เพราะนอกจากตัวเราจะอิ่มใจจากการได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแล้ว อสังหาริมทรัพย์นับวันจะยิ่งมีค่าทวีคูณ
การมีบ้านเป็นของตัวเองจะทำให้ภรรยาขยันทำงานบ้านมากขึ้น และลูกๆ มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะมีที่วิ่งเล่นเป็นของตัวเอง  การซื้อบ้านเป็นการเริ่มต้นการลงทุนที่ดีและคุ้มค่า  เพราะบ้านเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มค่าขึ้นทุกวันนั่นเอง



วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ชายผู้ร่ำรวยที่สุดของ บาบิโลน (The Richest Man in Babylon) ภาค4



อีก 1 ปีต่อมา เศรษฐีกลับมาหาอักราเพื่อสอบถามถึงความก้าวหน้าอีก เขาเล่าให้เศรษฐีฟังว่าได้เริ่มต้นเก็บเงินใหม่ แล้วนำเงินที่สะสมได้ไปให้คนทำโล่ยืมจึงได้ดอกเบี้ยจากคนทำโล่ทุกเดือน เมื่อเศรษฐีถามว่า แล้วเขาทำอย่างไรกับดอกเบี้ยที่ได้มา เขาตอบว่าได้ใช้ดอกเบี้ยไปกับการจับจ่ายใช้สอย และซื้อเสื้อผ้าให้ภรรยาจนหมด เศรษฐีจึงหัวเราะและถามว่า หากเขาทำเช่นนั้นกับลูกหลานที่ขอเงิน แล้วจะหวังให้มันทำงานให้ต่อไปได้อย่างไร หลังจากนั้นเศรษฐีจึงบอกว่า เราจะต้องนำดอกผลจากการลงทุนไปลงทุนต่อ ไม่ใช่นำไปใช้จ่าย

กฎข้อที่3 ต้องนำดอกผลที่ได้มา ไปลงทุนต่อเนื่องต่อไป

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า   พลังของดอกเบี้ยทบต้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ8ของโลก

อักราเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อเขายังเยาว์ให้เพื่อนๆ ฟังว่า พ่อของเขาได้ชักชวนเขาให้เข้าหุ้นกับลูกเพื่อน เพื่อซื้อที่ดินมาทำจัดสรรโดยใช้เงินเพียงหนึ่งในสิบของรายได้ แต่แทนที่เขาจะเชื่อพ่อนำเงินไปลงทุนตามคำแนะนำ เขากลับนำเงินนั้นไปจับจ่ายใช้สอยและซื้อเสื้อผ้าให้ภรรยาจนหมดสิ้น ผลปรากฏว่าที่ดินแปลงนั้น ทำกำไรอย่างงดงามให้กับผู้เข้าหุ้นทั้งหมด เขาจึงพลาดโอกาสที่จะเริ่มต้นสร้างความร่ำรวยให้กับตัวเอง

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ชายผู้ร่ำรวยที่สุดของ บาบิโลน (The Richest Man in Babylon) ภาค3

         
อักราได้เล่าต่อว่า หลังจากนั้น 1ปีเศรษฐีกลับมาสอบถามอักราถึงความก้าวหน้า เขาเล่าให้เศรษฐีฟังว่าได้เริ่มต้นทำตามคำแนะนำ ด้วยการเก็บเงิน 1 ใน 10 จากรายได้จนทำให้มีเงินสะสมอยู่ก้อนหนึ่ง เมื่อพบช่างอิฐซึ่งกำลังจะเดินทางไปต่างเมืองให้คำแนะนำว่า เขาควรซื้อเพชรพลอยมาขายเพื่อหากำไรเขาจึงฝากเงินสะสมทั้งหมดนั้นให้ช่างอิฐไปซื้ออัญมณี
           เมื่อเศรษฐีได้ฟังแค่นั้นก็หัวเราะแล้วพูดว่าคำแนะนำเป็นของได้เปล่าแต่เราต้องรู้จักเลือกใช้เฉพาะคำแนะนำที่มีค่าเท่า นั้น
            ทั้งที่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อักรา ต้องสูญเงินที่สะสมทั้งปีไปหมดเพราะช่างอิฐไม่มีความรู้ในการดูเพชรพลอยจึงถูกหลอก

เขาบอกโคบีและบันเซอร์ว่า คนที่ร่ำรวยนั้นร่ำรวยไม่ใช่เพราะมีเงินมากในกระเป๋าอย่างเดียว
หากยังเพราะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะกำลังทำงานอยู่หรือไม่ก็ตามด้วย
พวกเขาทำเช่นนั้นได้ด้วยการใช้เงินให้ทำงานนั่นคือ ด้วยการลงทุนที่เหมาะสม

กฎข้อที่2 ต้องนำเงินที่เก็บออมมาได้นั้นไปลงทุนอย่างระมัดระวังโดยการลงทุนที่เหมาะสม และอย่าขาดทุนเด็ดขาด



กฎเหล็กการลงทุนของ วอเรนท์ บัฟเฟตต์ นักลงทุนหุ้นคุณค่าอันดับหนึ่งของโลก
จนสามารถรวยเป็นอันดับหนึ่งของโลกได้โดยไม่ต้องทำธุรกิจเป็นของตนเองเลย
กฎมีสองข้อคือ

1)อย่าขาดทุน
2)อย่าลืมกฎข้อหนึ่ง

การลงทุนที่เหมาะสม ได้แก่การเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงและไม่ยากที่จะเรียกคืน
การลงทุนเช่นนั้น จะป้องกันมิให้เกิดการสูญเงินทุนหากไม่แน่ใจว่าจะลงทุนอย่างไร อาจไปขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆแต่โดยธรรมชาติแล้วการลงทุนที่ยิ่งเสี่ยงมากก็ยิ่งได้ผลตอบแทนมาก