วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ชายผู้ร่ำรวยที่สุดของ บาบิโลน (The Richest Man in Babylon)


         เกือบทุกคนมีความต้องการที่คร้ายกันอยู่อย่างหนึ่งสิ่งนั้นคือ อยากรวย เพราะมักคิดว่าการมีเงินมากๆ จะทำให้ได้ในสิ่งที่อยากได้ วันนี้เป็นวันเริ่มต้นชีวิตเส้นทางความรวย  เลยอยากเสนอ  หลักปรัชญาแห่งการบริหารเงินจากหนังสือเรื่องชายผู้ร่ำรวยที่สุดของ บาบิโลน (The Richest Man in Babylon) ของ George S. Clason  ผู้ก่อตั้งบริษัททำแผนที่เคลสัน
 
หลักปรัชญาแห่งการบริหารเงิน นี้เป็นความจริงที่จะทำให้ท่านๆรวยได้แน่นอน

เพราะว่า

                     The Richest Man in Babylon พิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ.1926 ซึ่งถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 100 ปีแล้ว และมีความพิเศษกว่าเล่มอื่นๆ เพราะเป็นหนังสืออ่านประกอบสำหรับวิชาวางแผนทางการเงินในสหรัฐอเมริกา เป็นต้นแบบของหนังสือแนะนำการลงทุนอื่น ๆ อีกมากมาย และ ณ วันนี้มียอดจำหน่ายแล้ว กว่า 2 ล้านเล่ม

แสดงได้ว่า หลักปรัชญาแห่งการบริหารเงิน นี้ เป็นความจริงที่สุด จึงอยู่ได้ถึงวันนี้

                  เรามารู้เรื่องเมืองบาบิโลนกันนิดนะ  บาบิโลนเป็นเมืองโบราณที่ร่ำรวยจากน้ำมือมนุษย์ ล้วนๆ เพราะตั้งอยู่ในหุบเขาอันแห้งแล้ง บนลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส หรือ ในอิรักปัจจุบัน  ไม่มีแม้แต่ก้อนหินที่ใช้ในการก่อสร้างไม่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าขาย แต่อย่างไรก็ตามความจำเป็นก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่นั่นคือ การสร้างระบบชลประทาน เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำมาใช้ในการเพาะปลูก การสร้างเขื่อน และคลองเป็นประดิษฐกรรมทางวิศวกรรมชิ้นแรกๆ ของโลก

                     ในเมืองบาบิโลน เป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในยุคโบราณโดยเป็นศูนย์กลางทางการค้าการเงิน และ เป็นแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินอีกด้วย เช่น สัญญาทางการค้า การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และโฉนดที่ดิน เชื่อกันว่าบาบิโลนมีพ่อค้าที่มั่งคั่ง และนักการเงินที่ชาญฉลาด จึงเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในยุคโบราณ
                     การที่ผู้เขียนใช้เมืองนี้ เป็นฉากอาจเพื่อบอกเป็นนัยว่า การวางแผนและการจัดการทางการเงินนั้นไม่มีกาลเวลา นั่นคือไม่มีทันสมัยหรือล้าสมัย อะไรที่เคยเป็นสัจธรรมในอดีตเมื่อ 8,000 ปีก่อนก็ยังคงเป็นสัจธรรมที่นำมาปฏิบัติได้ในปัจจุบัน
                            จุดเริ่มต้นแห่งสัจธรรม ของความร่ำรวยเริ่มต้นมานานแล้ว.......แล้วคุณพร้อมจะติดตามไปกับเราแล้วยัง   ฮ่าๆๆๆๆๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น