ที่มา : นิตยสารดวงใจพ่อแม่ Vol.12 September 2007
วิธีปลดหนี้
(มันเป็นเรื่องจริงที่นานแค่ไหนก็ใช้ได้ ดูจากที่มาดูดิ)
มีหลายคนที่เป็นหนี้แล้วสามารถปลดหนี้สินหมดได้ ต้องใช้กำลังใจและความอดทน คุณโจ มณฑาณี ตันติสุข เป็นคนหนึ่งที่โดนวิกฤติทางเศรษฐกิจ หนี้สินท่วมตัวถูกฟ้องเกือบล้มละลายแต่ในที่สุดก็สามารถปลดหนี้ 3 ล้านกว่าได้ เธอเขียนหนังสือที่บอกเล่าจากประสบการณ์จริงของตัวเองบวกกับการหาข้อมูลรอบ ด้าน ชื่อ “เงิน เรื่องใหญ่ที่โรงเรียนไม่เคยสอน” ในหนังสือเล่มนี้มีหลักการปฏิวัตินิสัยทางการเงิน 6 ข้อที่น่าสนใจ ก็เลยขอเก็บเป็นเกร็ดมาฝากค่ะ
1. แยกแยะให้ได้ระหว่าง “อยากได้” กับ “จำเป็น”
2. รู้สถานการณ์การเงินของคุณอย่างดี ทั้งตัวเลขในบัญชี ใบแจ้งหนี้ ยอดชำระหนี้ เป็นต้น
3. ต้องเริ่มทำบันทึกการเงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อป้องกัน “เงินฉันหายไปไหน?”
4. ให้รางวัลตัวเองด้วยการออม
5. ฝึกนิสัย “มีเงินสดค่อยซื้อ”
6. ทิ้งมนุษย์พิษที่บั่นทอนสุขภาพเงินของเรา แต่ให้สะสมมนุษย์ยอดเยี่ยมเก็บไว้
เมื่อเงินที่เคยมีใช้หนี้อยู่ทุกเดือนต้องชะงัก ถึงเวลาที่คุณจะต้องลงมือทำอะไรบ้างแล้วล่ะ
1. อย่าหนีหนี้และอย่าไปพึ่งหนี้นอกระบบ ขณะเดียวกันก็ต้องไม่สร้างหนี้เพิ่มโดยการประหยัดให้มากที่สุด ซื้อแต่ของจำเป็นจริงๆ ยังไม่ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวก เนื่องจากขณะนี้ไม่สะดวกจ่าย แล้วก็หันมาพยายามจับจ่ายใช้สอยด้วยเงินสด หนี้บัตรเครดิตจะได้ไม่งอกเพิ่ม เพื่อให้หลุดจากวังวนของการเป็นหนี้ไม่รู้จบ จ่ายหนี้หมดสิ้นแล้วค่อยอนุญาตตัวเองให้ใช้บัตรเครดิตได้อีกครั้ง คราวนี้ใช้อย่างมีสติด้วย
3. ปลดหนี้ก้อนใหญ่ให้หมด ดูว่าถ้าชำระหนี้แบบเต็มวงเงินแล้วยังมีเงินเหลือพอดำรงชีวิตต่อไปในแต่ละ เดือนมั้ย ถ้ามีหนี้บัตรไม่กี่ใบกัดฟันจ่ายหนี้บัตรที่มียอดหนี้มากที่สุด ด้วยเงินก้อนโตหน่อยในแต่ละเดือน ส่วนบัตรใบที่หนี้น้อยถ้าทำได้ก็พยายามใช้ให้สูงกว่าจ่ายขั้นต่ำ เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้หนี้กันยาวนานถ้าไม่ได้ก็ต้องทนจ่ายขั้นต่ำไป มีเมื่อไหร่ก็ค่อยรีบมาโปะเพิ่ม
4. รีไฟแนนซ์ยืดหนี้ ถ้าใช้หนี้แล้วเหลือเงินไม่พอใช้สอยในชีวิตประจำวัน ก็ลองรีไฟแนนซ์เพื่อยืดหนี้ออกไป อย่าไปตกหลุมพรางหาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยสูงกว่าหนี้เก่าล่ะ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังเพิ่มหนี้เข้าไปอีก ต้องหารีไฟแนนซ์ที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่า ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิต 3 ใบก็อาจเลือกรีไฟแนนซ์แค่ 1-2 ใบก็พอ ซึ่งจะช่วยให้ผ่อนหนี้ได้ดีแล้วยังมีเงินเหลือแต่อย่าลืมว่ามีข้อดีก็ต้องมี ข้อเสีย คือจะต้องเป็นหนี้นานขึ้นกว่าเดิม เช่น จาก 20 เดือนเป็น 42 เดือนแทน
5. หาแหล่งเงินกู้เดอกเบี้ยต่ำ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสวัสดิการพนักงาน สหกรณ์ บริษัทที่ทำงานอยู่หรือถ้ามีวินัยการใช้หนี้ การหันหน้าไปพึ่งพาคนในครอบครัวก็เป็นอีกทางหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่ายืมแล้วทำให้เขากินไม่ได้นอนไม่หลับไปด้วย คงไม่ดีแน่
6. ปรับโครงสร้างหนี้ อาจติดต่อเจ้าหน้าที่บัตรเครดิตขอปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งก็คือการทำสัญญาใหม่ที่มักจะรวมเงินต้น ดอกเบี้ย เบี้ยปรับทั้งหมด ค่าธรรมเนียมการติดตามหนี้ ข้อดีคือ ช่วยยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป หรือถ้าติดทั้งหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลกับเจ้าหนี้เดียวกัน อาจได้ข้อเสนอให้รวมหนี้มาเป็นยอดเดียวกัน และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม แต่อย่าลืมว่าหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลมีอายุความต่างกันการคิด ดอกเบี้ยก็อยู่ในอัตราที่ต่างกัน ถ้าไม่มีเงินจ่ายหนี้ในกรณีที่มีหนี้หลายตัว ก็ไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ เพราะถ้าผิดนัดแม้แต่งวดเดียวอาจถูกอายัดทรัพย์ หรืออายัดเงินเดือนได้
ที่มา : นิตยสารดวงใจพ่อแม่ Vol.12 September 2007